Mr. Jackson
@mrjackson

About Shrink Packaging

การแพ็คฟิล์มหด คือ กระบวนการแพ็คบรรจุภัณฑ์เข้าด้วยกันโดยการใช้ฟิล์มพลาสติก ซึ่งจะช่วยปกป้อง และ ยึดบรรจุภัณฑ์เข้าด้วย กัน ให้ได้ขนาดแพ็คตามที่วางขายกันในท้องตลาด

เว็บไซท์ของเราได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยคุณตัดสินใจว่า การแพ็คฟิล์มหดตรงกับบรรจุภัณฑ์ของคุณหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าบรรจุภัณฑ์ทุกประเภทจะสามารถใช้วิธีการแพ็คฟิล์มหดได้ วิธีที่เร็วที่สุดคือ ติดต่อเรา เพื่อให้เราแนะนำนวัตกรรมที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ

ตัวเลือกอื่นนอกเหนือจากการแพ็คฟิล์มหด

รูปแบบการแพ็คด้านล่าง รวมถึงการแพ็คฟิล์มหด สามารถใช้กับบรรจุภัณฑ์ที่มีการพิมพ์ภาพได้ทั้งหมด

กล่องกระดาษ / กล่องต่างๆ
บรรจุภัณฑ์หนึ่งชิ้น หรือ มากกว่าจะถูกบรรจุในกล่องที่ปิดทึบ วิธีปิดกล่องอาจใช้กาว หรือ ใช้ปีกกล่องเสียบยึดเข้าไป เช่น กล่องยาสีฟัน เป็นต้น

ถาดกระดาษลูกฟูก
บรรจุภัณฑ์จะถูกวางบนถาดกระดาษลูกฟูก เพื่อความสะดวกในการขนย้าย

ลังกระดาษ / ลังพลาสติก
คล้ายกับในกรณีของถาด แต่ลังมีความคงทนมากกว่า จึงมักถูกนำมาใช้ซ้ำ

ข้อดีของการแพ็คฟิล์มหด

  • ต้นทุนต่ำ กันน้ำ ลดรอยขีดข่วนที่อาจเกิดขึ้นกับฉลากสินค้า
  • การแพ็คฟิล์มหดใช้ต้นทุนน้อยกว่า เพราะ กระบวนการซับซ้อนน้อยกว่าการแพ็คถาด หรือ แพ็คกล่อง
  • สามารถมองเห็นบรรจุภัณฑ์ผ่านฟิล์มใสๆได้
  • หากเกิดการรั่วไหล จะไม่ไหลซึมออกจากแพ็ค และ ไม่ทำให้แพ็คอื่นๆเสียหาย

 

ถาม-ตอบ เรื่องการแพ็คฟิล์มหด

สามารถแพ็คฟิล์มหดกับบรรจุภัณฑ์ประเภทไหนได้บ้าง
การแพ็คฟิล์มหดเหมาะสมอย่างยิ่งกับบรรจุภัณฑ์ประเภท ขวด กระป๋อง กล่องเล็กๆ กล่องทั่วไป และ บรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นๆอีกมากมาย อย่างไรก็ดี ตัวบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบามาก หรือ รูปทรงแปลก อาจยากต่อการจัดรูปแบบ หรือ เคลื่อนย้ายระหว่างกระบวนการแพ็ค และ แพ็คอาจจะไม่แน่นตึงหลังจากแพ็คฟิล์มหดแล้ว

อุณหภูมิสูงที่เกิดจากกระบวนการแพ็คจะส่งผลเสียต่อตัวผลิตภัณฑ์หรือไม่
ผลิตภัณฑ์ส่วนน้อยเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบจากกระบวนการ เนื่องจากผลิตภัณฑ์จะถูกอุณหภูมิสูงแค่ช่วงสั้นๆเท่านั้น และผลิตภัณฑ์ได้รับการปกป้องจากฟิล์มที่ห่อไว้อยู่แล้ว แม้แต่ช็อกโกแลตที่ห่อด้วยกระดาษฟอยล์ก็ยังสามารถแพ็คฟิล์มหดได้

ในหนึ่งแพ็ค สามารถมีผลิตภัณฑ์ได้มากน้อยเท่าไร
ขึ้นอยู่กับขนาด และ น้ำหนักของตัวผลิตภัณฑ์ เช่น กระป๋องเครื่องดื่ม 12 กระป๋อง (4 x 3) เป็นขนาดที่สามารถทำการแพ็คได้อย่างเหมาะสม สามารถเพิ่มจำนวนได้อีกหากผลิตภัณฑ์มีขนาดเล็กกว่านี้ อย่าลืมว่า เราสามารถแพ็คแนวตั้ง ซึ่งจะช่วยให้กระป๋อง หรือ กล่องซ้อนขึ้นไปได้หลายชั้น

ฟิล์มจะห่อบรรจุภัณฑ์จนมิดเลยหรือไม่
ไม่ เพราะ ถึงแม้ฟิล์มจะหดตามรูปร่างบรรจุภัณฑ์ แต่ยังจะเหลือช่องเปิดวงกลมอยู่ด้านข้างของทั้ง 2 ด้านหรือที่เรียกว่า “Bulls Eyes”

สามารถใช้เครื่องเดียวแพ็คบรรจุภัณฑ์ต่างกันได้หรือไม่
ได้แน่นอน เพราะ เครื่องของออโตแพคได้รับการออกแบบมาให้ปรับเซ็ทได้อย่างรวดเร็วเพื่อให้ใช้กับบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลาย ส่งคำถามถึงเราเพื่อให้เราช่วยคุณหาเครื่องแพ็คที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณที่สุด

ชนิดฟิล์มที่ใช้

โพลีเอทิลีน (Polyethylene (PE)) ในรูปแบบความหนาแน่นต่ำ (LDPE) เป็นประเภทของฟิล์มพลาสติกที่ดีที่สุดสำหรับการแพ็คฟิล์มหด เพราะ มีความทนทาน แข็งแรง ราคาไม่แพง และ สามารถหดได้ดีเมื่อถูกความร้อน

ขั้นตอนการแพ็คฟิล์มหด

การแพ็คฟิล์มหดมี 3 ขั้นตอน

1. จัดเรียงบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์จะถูดจัดเรียงเป็นกลุ่ม (เช่น 3×2 ขวด จัดเรียงเป็นหนึ่งแพ็คที่มีทั้งหมด 6 ขวด)

2. ห่อบรรจุภัณฑ์เข้าด้วยกัน
ฟิล์มห่อบรรจุภัณฑ์เข้าด้วยกันเป็นแพ็ค

3. ใช้ความร้อน
แพ็คที่ห่อฟิล์มเรียบร้อยแล้วจะเคลื่อนเข้าสู่ตู้อบ (shrink tunnel) ความร้อนทำให้ฟิล์มหด และ รัดรอบๆบรรจุภัณฑ์ เมื่อแพ็คเย็นลง ฟิล์มคลายความร้อน และ รัดรอบแพ็ค ทำให้แพ็คแข็ง และ ทนทาน

การซีลโดยใช้มีดความร้อน (Weld Bar Sealing) กับ การซีลแบบโอเวอร์แล็ป (Overlap Sealing)

การห่อฟิล์มมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน

การซีลโดยใช้มีดความร้อน (Weld Bar Sealing)
การซีลโดยใช้มีดความร้อน เป็นวิธีซีลฟิล์มที่ทำกันทั่วไปโดยการใช้ฟิล์มสองแผ่นมาเชื่อมเข้าด้วยกันเกิดเป็นม่านฟิล์ม บรรจุภัณฑ์จะถูกผลักผ่านม่านฟิล์ม มีดความร้อนสูงสับลงบนฟิล์ม ตัดฟิล์มด้วยความร้อน และ เชื่อมฟิล์มเข้าด้วยกัน เกิดเป็นแนวเชื่อมฟิล์มที่ห่อแพ็คขึ้นมา ในขณะเดียวกันความร้อนจากมีดจะเชื่อมฟิล์มบนและล่างเข้าด้วยกัน สร้างม่านฟิล์มขึ้นใหม่ เตรียมพร้อมสำหรับแพ็คต่อไป

การซีลแบบโอเวอร์แล็ป (Overlap Sealing)
กระบวนการนี้ใช้ฟิล์มม้วนเดียว โดยที่ฟิล์มปริมาณหนึ่งจะถูกตัดเตรียมไว้ แล้วห่อรอบๆบรรจุภัณฑ์ โดยที่ปลายฟิล์มทั้งสองด้านซ้อนทับกันอยู่ใต้แพ็ค เมื่อถูกความร้อนในตู้อบ ปลายทั้งสองจะเชื่อมติดกัน

จุดเด่นของเครื่องแพ็คที่ใช้การซีลลิ่งคือราคาถูก และ เครื่องเล็กกว่า ส่วนจุดเด่นของเครื่องแพ็คที่ใช้การโอเวอร์แล็ปคือความเร็วในการแพ็คที่มากกว่า

แผ่นรองกระดาษลูกฟูก และ ถาดกระดาษลูกฟูก

สามารถวางแพ็คลงบนแผ่นรองกระดาษลูกฟูก หรือ ถาดกระดาษลูกฟูก ก่อนทำการแพ็คฟิล์มหด เพื่อเพิ่มความทนทาน และ ความสะดวกในการขนย้าย

 

close-link
Contact Us